นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และทีม ได้รับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทองอันดับ 1 และเงินรางวัล 7000 บาท ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับอุดมศึกษา Southern innovation festival 2025 ในหมวด อุปกรณ์อัจฉริยะและปัญญาประดิษฐ์ หัวข้อ ระบบตรวจสอบ PCB ใน smart factory
สมาชิกกลุ่ม
1. นายปุรัสกร เกียรติ์นนทพัทธ์ รหัสนักศึกษา 6710110270 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2. นายสิทธิกร พินทอง รหัสนักศึกษา 6710110436 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3. นายธนิก ภัทรเศรษฐวงศ์ รหัสนักศึกษา 6710110182 หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.สหพงศ์ สมวงค์
รายละเอียดการจัดงาน
มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และเครือข่ายมหาวิทยาลัยภาคใต้ จัดงาน มหกรรมนวัตกรรมจากผลงานวิจัยภาคใต้และการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม : Southern Innovation Fair 2025 ระหว่างวันที่ 17–19 กรกฎาคม 2568 ณ หอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมจากงานวิจัยภาคใต้
พร้อมทั้งเผยแพร่ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ การจัดมหกรรมในครั้งนี้ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่
1) มหกรรมนวัตกรรมจากผลงานวิจัยภาคใต้และการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม : Southern Innovation Fair 2025
2) โครงการเผยแพร่ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
3) การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 36
4) The 1st International Conference on Disaster Risk Management (ICDRM2025) การประชุมระดับนานาชาติด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์วิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทยหรือ Startup Thailand ได้จัดโครงการ Startup Thailand League ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2568
งานนี้ได้รับความสนใจจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ มากกว่า 55 แห่ง โดยเป้าหมายของ NIA คือการพัฒนาศักยภาพและความสามารถด้านนวัตกรรมแก่เยาวชนในระดับอุดมศึกษา ให้มีทักษะและมุมมองในการเป็นผู้ประกอบการ พร้อมก้าวเข้าสู่โลกแห่งการเป็น Startup ที่ต้องออกสู่ตลาดจริง นี่คือโอกาสสำคัญที่ทั้งมหาวิทยาลัยและเยาวชนจะได้พัฒนาสู่การเป็น "มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ" อย่างแท้จริง
ในการนี้ นายภูรินทร์ นิกพงศ์ นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และทีม ได้รับทุนสนับสนุนในโครงการ Startup Thailand League จำนวน 25,000 บาท เพื่อแสดงผลงานที่ งาน SITE 2025 สยามพารากอนฮอลล์ กรุงเทพมหานคร
สมาชิกทีม
1. นายภูรินทร์ นิกพงศ์ รหัสนักศึกษา 6510110371 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2. นายชิตพล ด่านสกุล หลักสูตร InnoEm
3. นายเจริญ สุวรรณรัตน์ หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล
4. นายรามิล วิชัยดิษฐ์ หลักสูตรวิศวกรรมเมคาทรอนิกส์
5. นางสาวหนึ่งฤทัย แสนเสนาะ คณะวิทยาศาสตร์
รายละเอียดโครงการ STARTUP THAILAND LEAGUE 2025 โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หลักสูตรเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการ สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ STARTUP THAILAND LEAGUE 2025
เป้าหมายของโครงการ "STARTUP THAILAND LEAGUE คือการพัฒนาศักยภาพและความสามารถด้านนวัตกรรมแก่เยาวชนในระดับอุดมศึกษา ให้มีทักษะและมุมมองในการเป็นผู้ประกอบการ พร้อมก้าวเข้าสู่โลกแห่งการเป็น STARTUP ที่ต้องออกสู่ตลาดจริง เป็นโอกาสสำคัญให้ทั้งมหาวิทยาลัยและเยาวชนได้พัฒนาสู่การเป็น "มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ" อย่างแท้จริง
เพื่อที่โครงการจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างยั่งยืนนั้น สำนักงานนวัตกรรมเห่งชาติ (องค์การมหาขน) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศได้เล็งเห็นว่า การส่งเสริมองค์ความรู้ในรูปแบบ LIFE LONG LEARNING จะเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนได้พัฒนาทักษะตลอดจนเป็นการสร้าง MINDSET แห่งการพัฒนาตนเองตลอดเวลา จึงได้ร่วมมือกันสร้างหลักสูตรการเรียนรู้ร่วมกันที่จะสามารถเป็นองค์ความรู้เสริม ที่ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามต้องการ ได้ทุกที่ทุกเวลา และเป็นองค์ความรู้ที่ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่นั้นใจใต้เลยว่า จะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ที่สนใจเรียนรู้ โดยการเรียนรู้จะแบ่งเป็น 12 วิชา
รายละเอียดงาน SITE 2025










ทีม 164_ไข่นุ้ย นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คว้ารางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขัน ThaiLLM Safety Red Teaming Challenge ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท
สมาชิกทีม 164_ไข่นุ้ย ประกอบด้วย
1. นายกันต์กวี รามศรี รหัสนักศึกษา 6610110408 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
2. นายพีรณัฐ ฉุ้นฮก รหัสนักศึกษา 6710110295 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
3. นายธีรภัทร พรมชัยศรี รหัสนักศึกษา 6710110589 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
การแข่งขัน Thai LLM Safety Red Teaming Challenge จัดภายใต้โครงการ AI Thailand Benchmark Programs 2025 ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม – 15 มิถุนายน 2568 โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
การแข่งขัน ThaiLLM Safety Red Teaming Challenge มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาจุดอ่อนของ LLM ในบริบทไทย และ พัฒนาความรู้เรื่อง Bias และ Safety ของ AI การแข่งขันมีระยะเวลา 3 วัน โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้อง ส่ง Prompt ภาษาไทยเท่านั้น
กติกาและระบบคะแนน:
- ช่วงส่ง Prompt นับคะแนน: 13 มิ.ย. 68 (09.00 น.) - 15 มิ.ย. 68 (21.00 น.)
- ข้อจำกัด: ทีมละ 100 Prompt / ชั่วโมง
- Morning Rush: 06.00-08.00 น.
- คะแนน: Flag ถูกได้คะแนน, Flag ผิดติดลบ
การแข่งขันครั้งนี้เป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยและนักศึกษาทั่วประเทศได้ร่วมกันออกแบบโจทย์และสถานการณ์เพื่อ “ท้าทาย” ความสามารถของโมเดลภาษาไทยในบริบทที่อาจเกิดความเสี่ยง (Red Teaming) เช่น การให้ข้อมูลผิดพลาด ข้อมูลอ่อนไหว หรือเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของ AI ก่อนนำไปใช้จริง และผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยี AI ที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับบริบทของภาษาไทย ความสำเร็จของทีมสะท้อนถึงทักษะด้านเทคนิคและศักยภาพด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเฉพาะในด้านการทดสอบและยกระดับความปลอดภัยของโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่ (Thai Large Language Models)
ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ได้จัดการแข่งขัน Cyber Warrior Hackathon 2025 โดยรอบแรก จัดการแข่งขันไปแล้วเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2568 และ รอบ 2 รอบรับข้อเสนอโครงการ ประกาศผลในวันที่ 6 กรกฎาคม 2568 ในรูปแบบออนไลน์และผลจากการแข่งขัน ปรากฎว่า ทีม SoftShells และ Lazy ToPatch ซึ่งเป็นทีมนักศึกษาสังกัดสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ (รอบ 3) โดยมีกำหนดการแข่งขัน ในระหว่าง วันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สยามพารากอน กรุงเทพมหานคร และทีม SoftShells ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการแข่งขัน Cyber Warrior Hackathon 2025
รายชื่อผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ทีม T063 SoftShells
- นางสาวซิลมีย์ ปะหนัน รหัสนักศึกษา 6510110116 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นายป่าปัญญา สิริวัฒนาวรกุล รหัสนักศึกษา 6510110274 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นางสาวภูริชฐญา ขุนแดง รหัสนักศึกษา 6510110365 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นางสาวสินายน์ สุนทร รหัสนักศึกษา 6510110492 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นายอดิเทพ แบบเหมือน รหัสนักศึกษา 6510110510 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
อาจารย์ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ
รายละเอียดกิจกรรม
กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ตำรวจไซเบอร์ ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ภาคเอกชน อาทิ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด หรือ AIS, มูลนิธิพระราหู, บริษัท Security pitch จำกัด และหน่วยงานอื่นๆ ได้ร่วมกันเปิดโครงการ Cyber Warrior Hackathon 2025 ณ ห้องฟีนิกซ์ 1-6 อาคารศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยโครงการดังกล่าวกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 มิ.ย. – 21 ก.ค.68
โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแข่งขันด้านการเขียนโปรแกรมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับนักศึกษาทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง “นักรบไซเบอร์” รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการรับมือภัยคุกคามในยุคดิจิทัล ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับภารกิจจริงของตำรวจไซเบอร์
พร้อมทั้งยกระดับทักษะและความรู้ในด้านนี้ และปลูกฝังความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยไซเบอร์ให้แก่เยาวชนไทย
อีกทั้ง ยังเป็นการเชื่อมโยงกลุ่มนักศึกษากับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์ สร้างความร่วมมือที่เข้มแข็ง พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต และโครงการดังกล่าวยังสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยในการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างรากฐานที่ยั่งยืนให้กับสังคมและประเทศ และยังส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล เพื่อมีส่วนร่วมในการปกป้องประเทศจากภัยคุกคามไซเบอร์
สำหรับกิจกรรมสำคัญในโครงการ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
– Cyber Crime Talk: การบรรยายพิเศษโดยตำรวจไซเบอร์ พร้อมกรณีศึกษาที่น่าสนใจ และข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของอาชญากรรมไซเบอร์ในปัจจุบัน
– Cyber Crime Workshops: กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ฝึกทักษะด้านการสืบสวนดิจิทัล เช่น Digital Forensics, Blockchain Analysis และ OSINT Investigation โดยใช้ทั้งเครื่องมือโอเพนซอร์ส
และเครื่องมือพิเศษเฉพาะทาง
– Cyber Warrior Hackathon: การแข่งขันแบบทีม ระยะเวลา 3 วันเต็ม ระหว่างวันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2568 ณ ห้องประชุมพินิจวิทัศน์ ชั้น 14 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยเน้นการพัฒนาแนวทางหรือโปรแกรมที่ใช้ในการตรวจจับ สืบสวน และป้องกันภัยไซเบอร์
ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการอบรมตามหลักสูตรด้าน Cybersecurity พร้อมใบประกาศนียบัตร Non-Degree จากความร่วมมือระหว่างภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มจธ. และตำรวจไซเบอร์ อีกทั้งยังได้รับสถานะเป็นอาสาสมัคร “Cyber Eyes” ในเครือข่ายของ บช.สอท. และเป็นสมาชิกในระบบ “oneKMUTT” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมหาวิทยาลัย
ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันมีสิทธิ์เข้าร่วมฝึกประสบการณ์ทำงานจริงกับตำรวจไซเบอร์ รวมถึงประกาศนียบัตร Cyber Warrior พร้อมโอกาสต่อยอดผลงานสู่งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน และมีโอกาสชิงเงินรางวัล รวมมูลค่ากว่า 260,000 บาท
โดยรายละเอียดของรางวัลมีดังนี้:
- รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 100,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 50,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 30,000 บาท
- รางวัลชมเชย จำนวน 7 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 70,000 บาท
โดยการแข่งขันในปีนี้ได้รับความสนใจจากเยาวชนทั่วประเทศ มีนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันถึง 520 คน จาก 36 สถาบัน รวมทั้งสิ้น จำนวน 110 ทีม
ภายหลังการอบรม ผู้เข้าร่วมนำเสนอข้อเสนอโครงการเพื่อลุ้นเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศของการแข่งขัน Hackathon โดย 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ขึ้นเวทีนำเสนอผลงานในวัน Pitching Day ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2568 เวลา 13.00–18.30 น. ณ SCBX NEXT TECH ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมรับฟังด้วย
สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกัน บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) ได้จัดการแข่งขัน Cyber Warrior Hackathon 2025 โดยรอบแรก จัดการแข่งขันไปแล้วเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2568 และ รอบ 2 รอบรับข้อเสนอโครงการ ประกาศผลในวันที่ 6 กรกฎาคม 2568 ในรูปแบบออนไลน์และผลจากการแข่งขัน ปรากฎว่า ทีม SoftShells และ Lazy ToPatch ซึ่งเป็นทีมนักศึกษาสังกัดสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ (รอบ 3) โดยมีกำหนดการแข่งขัน ในระหว่าง วันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สยามพารากอน กรุงเทพมหานคร
รายชื่อผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ทีม T063 SoftShells
- นางสาวซิลมีย์ ปะหนัน รหัสนักศึกษา 6510110116 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นายป่าปัญญา สิริวัฒนาวรกุล รหัสนักศึกษา 6510110274 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นางสาวภูริชฐญา ขุนแดง รหัสนักศึกษา 6510110365 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นางสาวสินายน์ สุนทร รหัสนักศึกษา 6510110492 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
- นายอดิเทพ แบบเหมือน รหัสนักศึกษา 6510110510 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ทีม T034 Lazy ToPatch
- นางสาวกิ่งดาว ขนานขาว รหัสนักศึกษา 6510110035 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นายศิวกร น้อยหรำ รหัสนักศึกษา 6510110465 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นายกรวิชญ์ คงคล้าย รหัสนักศึกษา 6710110006 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นายเพชรฌานันท์ สุวรรณรักษ์ รหัสนักศึกษา 6710110298 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
อาจารย์ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ
ประกาศทีมที่เข้ารอบรองชนะเลิศ (Hackathon) 30 ทีมสุดท้าย ผ่านเว็บไซต์ https://cyberwarrior2025.io/announcement-hackathon
รายละเอียดกิจกรรม
กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ตำรวจไซเบอร์ ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ภาคเอกชน อาทิ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด หรือ AIS, มูลนิธิพระราหู, บริษัท Security pitch จำกัด และหน่วยงานอื่นๆ ได้ร่วมกันเปิดโครงการ Cyber Warrior Hackathon 2025 ณ ห้องฟีนิกซ์ 1-6 อาคารศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยโครงการดังกล่าวกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 มิ.ย. – 21 ก.ค.68
โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแข่งขันด้านการเขียนโปรแกรมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับนักศึกษาทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง “นักรบไซเบอร์” รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการรับมือภัยคุกคามในยุคดิจิทัล ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับภารกิจจริงของตำรวจไซเบอร์
พร้อมทั้งยกระดับทักษะและความรู้ในด้านนี้ และปลูกฝังความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยไซเบอร์ให้แก่เยาวชนไทย
อีกทั้ง ยังเป็นการเชื่อมโยงกลุ่มนักศึกษากับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์ สร้างความร่วมมือที่เข้มแข็ง พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต และโครงการดังกล่าวยังสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยในการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างรากฐานที่ยั่งยืนให้กับสังคมและประเทศ และยังส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล เพื่อมีส่วนร่วมในการปกป้องประเทศจากภัยคุกคามไซเบอร์
สำหรับกิจกรรมสำคัญในโครงการ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
– Cyber Crime Talk: การบรรยายพิเศษโดยตำรวจไซเบอร์ พร้อมกรณีศึกษาที่น่าสนใจ และข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของอาชญากรรมไซเบอร์ในปัจจุบัน
– Cyber Crime Workshops: กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ฝึกทักษะด้านการสืบสวนดิจิทัล เช่น Digital Forensics, Blockchain Analysis และ OSINT Investigation โดยใช้ทั้งเครื่องมือโอเพนซอร์ส
และเครื่องมือพิเศษเฉพาะทาง
– Cyber Warrior Hackathon: การแข่งขันแบบทีม ระยะเวลา 3 วันเต็ม ระหว่างวันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2568 ณ ห้องประชุมพินิจวิทัศน์ ชั้น 14 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยเน้นการพัฒนาแนวทางหรือโปรแกรมที่ใช้ในการตรวจจับ สืบสวน และป้องกันภัยไซเบอร์
ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการอบรมตามหลักสูตรด้าน Cybersecurity พร้อมใบประกาศนียบัตร Non-Degree จากความร่วมมือระหว่างภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มจธ. และตำรวจไซเบอร์ อีกทั้งยังได้รับสถานะเป็นอาสาสมัคร “Cyber Eyes” ในเครือข่ายของ บช.สอท. และเป็นสมาชิกในระบบ “oneKMUTT” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมหาวิทยาลัย
ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันมีสิทธิ์เข้าร่วมฝึกประสบการณ์ทำงานจริงกับตำรวจไซเบอร์ รวมถึงประกาศนียบัตร Cyber Warrior พร้อมโอกาสต่อยอดผลงานสู่งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน และมีโอกาสชิงเงินรางวัล รวมมูลค่ากว่า 260,000 บาท
โดยรายละเอียดของรางวัลมีดังนี้:
- รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 100,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 50,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 30,000 บาท
- รางวัลชมเชย จำนวน 7 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 70,000 บาท
โดยการแข่งขันในปีนี้ได้รับความสนใจจากเยาวชนทั่วประเทศ มีนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันถึง 520 คน จาก 36 สถาบัน รวมทั้งสิ้น จำนวน 110 ทีม
ภายหลังการอบรม ผู้เข้าร่วมจะได้นำเสนอข้อเสนอโครงการเพื่อลุ้นเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศของการแข่งขัน Hackathon โดย 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย จะได้ขึ้นเวทีนำเสนอผลงานในวัน Pitching Day ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2568 เวลา 13.00–18.30 น. ณ SCBX NEXT TECH ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมรับฟังด้วย






